เรื่องของการกินคงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ทำให้ใครหลายคนนั้นมีความสุขหรือสามารถใช้การกินในการคลายเครียดที่เกิดจากเรื่องราวต่างๆได้ บางคนยิ่งเครียดก็จะยิ่งกิน ซึ่งเชื่อว่าใครหลายคนในที่นี้ต้องเป็นคนที่กินจุ กินเยอะ ซึ่งน้ำหนักตัวคงเป็นปัญหาของใครหลายคนที่จะเกิดอาการกังวลมาก เพราะถ้าเผลอตามใจปากแม้แต่นิดเดียวก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากใครบางคนที่กินเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ขึ้น กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเสียที ซึ่งเป็นคำที่ฟังแล้วดูเหมือนจะดี ดูน่าอิจฉา แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วนั้นอาจจะเป็นปัญหาหรือเป็นข้อเสียของใครหลายคน เพราะลักษณะแบบนี้นั้นถือได้ว่าเป็นสัญญาณของโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นหรือปัญหาสุขภาพต่างๆที่กำลังตามมาได้ของใครหลายคน วันนี้เราจึงนำไปรู้จักกับกินยังไงก็ไม่อ้วน เพราะอะไร เสี่ยงเป็นโรคและอันตรายไหม มาให้ทุกคนหรือคนผอมที่กำลังประสบปัญหานี้ได้รู้และหาทางวิธีแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีถ้าอยากไปศึกษาแล้วนั้นก็ลองไปดูพร้อมกันได้เลย
สาเหตุของการกินยังไงก็ไม่อ้วนเกิดจากอะไร เพราะอะไร?
สำหรับสาเหตุของการกินอย่างไรก็ไม่อ้วนนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนเพราะมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม พฤติกรรม อาทิเช่นร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหารและรวมถึงการนำพลังงานจากสารอาหารไปใช้ภายในร่างกาย หรืออาจจะเกิดจากรูปแบบของการใช้ชีวิตที่มีการใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างมาก ใช้พลังงานในปริมาณมากอยู่สม่ำเสมอ ทำให้พลังงานที่ร่างกายได้จากการทานอาหารเข้าไปนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ดังนี้
1.ปัจจัยด้านฮอร์โมน โดยความหิวนั้นจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) และ ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งจะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) คือ ฮอร์โมนที่มีหน้าที่ “ระงับความอยากอาหาร” จะส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อบอกว่าเรานั้นอิ่มแล้วและหยุดความอยากอาหาร
- ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) จะทำหน้าที่ตรงข้ามกัน คือจะ “กระตุ้นความอยากอาหาร” เมื่อมีฮอร์โมนนี้มากจนเกินไปก็จะทำให้กินอย่างไรก็ไม่อิ่มเสียที
2.พฤติกรรมการทานอาหาร โดยคนที่มีพฤติกรรมกินช้า เคี้ยวช้านั้นมีแนวโน้มที่ จะทำให้กลายเป็นคนที่กินแล้วไม่อ้วนได้มากกว่าคนที่เคี้ยวเร็ว เพราะจะเพิ่มเวลาในการส่งสัญญาณไปที่สมองว่าอิ่มแล้วได้
3.พฤติกรรมการนอนหลับ การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอนั้นจะทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนที่มีความสมดุลกว่าคนที่นอนน้อยจนเกินไป เนื่องจากคนที่นอนน้อยหรือคนที่อดนอนจะส่งผลให้มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และ ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ที่ทำให้อยากอาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วย
4.ออกกำลังกายอย่างหนัก การออกกำลังกายนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป ถ้าหากเรามีการออกกำลังกายที่หนักมากจนเกินไป จะทำให้ระบบเผาผลาญต่างๆ ในร่างกายของเรารวน จนทำให้กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ทางที่ดีที่สุดเราควรทำให้ทั้งการกิน การออกกำลังกายและการพักผ่อนนั้นมีความสมดุลมากที่สุด เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.รูปแบบของการใช้ชีวิตและการมีระบบเผาผลาญที่ดี ร่างกายของแต่ละคนมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงความสามารถของระบบเผาผลาญในการรับมือกับพลังงานจากอาหาร ในบางคนการที่กินแล้วไม่อ้วนอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพโดยอย่างใด ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร และการนำพลังงานไปใช้ โดยมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการย่อยอาหารได้ ทั้งขนาดและโครงสร้างร่างกาย ปริมาณกล้ามเนื้อ ส่วนสูง เพศและอายุ เป็นต้น
กินอย่างไรก็ไม่อ้วนเสี่ยงเป็นโรคหรือไม่?
แต่นอกจากนี้การกินอย่างไรก็ไม่อ้วนนั้นอาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆขึ้นมาได้และยังนำไปสู่สาเหตุที่เกิดจากโรคต่างๆหรือปัญหาสุขภาพต่างๆได้เช่นกัน ซึ่งมีโรคที่สอดคล้องกับลักษณะเหล่านี้ ดังนี้
1.มีพยาธิมากเกินไป พยาธิ คือ ปรสิตชนิดหนึ่งที่คอยแย่งอาหารในร่างกาย ซึ่งหากในร่างกายมีพยาธิสะสมอยู่มากจนเกินไป พยาธิเหล่านี้จะแย่งอาหารที่เรากินเข้าไปจนทำให้เรากินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้นเลย ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีการเช็คตัวเองได้ง่ายๆโดยการที่ดูว่ามีอาการปวดท้องอยู่เป็นประจำ ท้องเสียบ่อย และกินอาหารมากเท่าไรน้ำหนักก็ไม่ขึ้นหรือไม่ ถ้าใช่อันดับแรกควรจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจอุจจาระดูพยาธิในลำไส้ ซึ่งแพทย์อาจจะให้ลองทานยาถ่ายพยาธิดูก่อนถ้าอาการไม่ดีขึ้นคือกินอย่างไรก็ยังไม่อ้วน คงจะต้องทำการหาสาเหตุอื่นๆอีกต่อไป
2.ไทรอยด์เป็นพิษหรืออาจเรียกว่า “ไทรอยด์ชนิดผอม” เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เรานั้นกินอย่างไรก็ไม่อ้วนได้เช่นกัน ซึ่งไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxine) ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ ทำให้เกิดระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อที่อยู่ในร่างกายถูกกระตุ้นให้มีการเผาผลาญเกินความจำเป็น ร่างกายนำพลังงานจากสารอาหารที่กินเข้าไปไปใช้มากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดการกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเสียที น้ำหนักขึ้นยากหรืออาจจะส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้โดยไม่มีสาเหตุ โดยคนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษอาจจะพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อยากอาหาร หิวบ่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หงุดหงิด ร่างกายสั่นทั้งมือและตัว มีความวิตกกังวลอีกทั้งถ้าในผู้หญิงนั้นจะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ซึ่งโรคนี้นั้นควรที่จะรักษาโดยแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการที่บ่งบอกควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
3.วัณโรค โรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายดายผ่านทางการหายใจ ซึ่งจะทำให้มอาการเป็นไข้ต่ำ รู้สึกเหนื่อยง่ายและมีน้ำหนักลดลง ซึ่งถ้าหากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
4.โรคขาดสารอาหาร ในกรณีนี้เกิดจากการที่รักสุขภาพในทางที่ผิด เน้นการกินแต่ผักและผลไม้ ไม่ทานแป้งหรือเนื้อสัตว์ให้ได้ปริมาณตามที่ร่างกายต้องการ จะทำให้ร่างกายนั้นขาดสารอาหารบางประเภทได้ นอกจากจะทำให้กินเท่าไหร่แล้วก็ไม่อ้วนได้แล้ว ยังจะทำให้ร่างกายนั้นเกิดอาการอ่อนเพลียและไม่มีเรี่ยวแรงได้
5.โรคลำไส้อักเสบเรื้องรังหรือปัญหาที่เกิดจากลำไส้ ลำไส้และระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนที่ใช้ลำเลียงอาหาร ย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงช่วยในเรื่องของการขับถ่าย นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายหน้าที่ร่วมอยู่ด้วย เมื่อระบบทางเดินอาหารและลำไส้ของเราผิดปกติ อาจจะทำให้กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเสียที นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากการที่ลำไส้อักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน มีลักษณะคือ สามารถกินได้เยอะแต่ก็ถ่ายคล่อง กินปุ๊บ ถ่ายปั๊บ ก็ทำให้กินและไม่อ้วนได้ ซึ่งถ้าหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายทั้งปัญหาการเพิ่มน้ำหนัก น้ำหนักลดจนผิดปกติ ท้องเสียบ่อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
6.โรคมะเร็ง เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ในร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตหรือควบคุมการตายตามธรรมชาติของเซลล์ปกติได้ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการเจริญเติบโตจนผิดปกติหรือเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จนเกิดก้อนเนื้อโตขึ้นมาได้ โดยมีอาการคือจะมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย จึงทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกนั้นผู้ป่ายจะมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
7.โรคเบาหวาน กลายเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ สามารถทำได้แค่เพียงการประคองโรคให้ดีขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งอาการเบื้องต้นของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน นั่นก็คือ สามารถกินอาหารได้มากขึ้น แต่น้ำหนักกลับไม่เพิ่มตาม แถมน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย เหตุผลคือในร่างกายของผู้ป่วยมีระดับอินซูลินในเลือดสูง เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปภายในร่างกาย ก็จะขับออกมาผ่านทางปัสสาวะ เป็นผลทำให้ไตทำงานอย่างหนัก ร่างกายของผู้ป่วยจึงเกิดกระบวนการเผาผลาญแคลอรี่และพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้กินเท่าไหร่ยังไงก็ไม่สามารถทำให้ตัวเองอ้วนขึ้นได้เสียที
8.กลุ่มอาการชีแฮน ซินโดรม (Sheehan Syndrome) “โรคซีแฮน” หรือ “โรคกลุ่มอาการชีแฮน” ส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่มีอาการตกเลือดอย่างรุนแรงระหว่างทำการคลอดบุตร ทำให้เลือดนั้นไปเลี้ยงในส่วนของต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อบริเวณต่อมใตสมองตาย จนส่งผลกระทบไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย หนึ่งในนั้นคือส่งผลกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนภายในร่างกายที่ไปควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียขึ้นมาและทำให้ร่างกายซูบผอมลงได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ชายและผู้หญิงมีการเผาผลาญแตกต่างกันอย่างไร?
ร่างกายของคนเรานั้นมีความแตกต่างกันออกไปทั้งสรีระ ขนาดและโครงสร้างร่างกาย ปริมาณกล้ามเนื้อ ส่วนสูง เพศและอายุ ซึ่งในเพศชายนั้นก็จะทำให้มีระบบเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายที่ดีกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้ชายจึงสามารถออกกำลังกายและสร้างกล้ามเนื้อให้แก่ตนเองได้ง่ายกว่า นอกจากนี้คนที่มีอายุน้อยกว่าก็จะมีระบบเผาผลาญพลังงานที่ดีกว่าคนอายุมากกว่าเช่นกัน ทำให้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้เห็นได้ว่าทำไมถึงทานอย่างไรก็ไม่อ้วน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับบทความกินยังไงก็ไม่อ้วน เพราะอะไร เสี่ยงเป็นโรคและอันตรายไหม ที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ โดยทั้งนี้การกินเยอะแต่ไม่อ้วนก็ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ทั้งด้านร่างกาย ฮอร์โมน และการใช้ชีวิต หรือแม้แต่เป็นสัญญาณของการเกิดโรคต่างๆ แต่เราไม่ควรที่จะเครียดกับการกินมากจนเกินไป ซึ่งควรกินให้สุขภาพดี กินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายให้เพียงพอต่อวัน เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดโรคต่างๆตามมาหรือไม่