คนส่วนมากจะบอกกันว่าการนอนหลับที่ดีและเพียงพอควรนอนให้ครบ 7-8 ชั่วโมง แต่เคยเป็นกันไหม รู้สึกง่วงนอนมากๆ ยังงัวเงีย ตื่นมาก็ไม่รู้สึกสดชื่นทั้งที่ก็เพิ่งตื่นนอนและนอนครบ 7-8 ชั่วโมงแล้ว ก็ยังมีความรู้สึกที่อยากจะนอนต่อหรือรู้สึกเพลียมาก ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นเรียกกันว่า อาการนอนไม่เต็มอิ่ม การนอนไม่เต็มอิ่มจะส่งผลต่อการทำงานของสมองเรา ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ลดลงหรือไม่มีคุณภาพ ทำงานได้ช้าลง ไม่สดชื่น รู้สึกมีความเฉื่อยชา ทำงานได้ช้าลง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 ข้อเท็จจริงนอนเต็มอิ่ม กี่ชั่วโมงถึงจะดี มีวิธีอย่างไรที่จะทำให้นอนเต็มอิ่ม ตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นมาฝากกับใครที่กำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ ถ้าอยากรู้ว่าการนอนหลับไม่เต็มอิ่มควรแก้อย่างไร เราลองไปดูกันได้เลย
นอนเต็มอิ่ม คืออะไร?
การนอนเต็ม คือ การนอนหลับอย่างเพียงพอ ทำให้เมื่อตื่นมารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมสำหรับการทำงาน สมองแล่นพร้อมได้ทำงาน อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดทำให้เรามีความสุขมากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งมนุษย์เราแต่ละคนนั้นมีกระบวนการของการนอนหลับที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ช่วงอายุ เพศ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน อาทิเช่นวัยผู้ใหญ่นั้นควรได้รับการพักผ่อนอย่างต่ำ 7 ชั่วโมงขึ้นไปถึงจะดีต่อสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วถึงจะนอนไม่ครบ 7 ชั่วโมงก็สามารถตื่นมาแล้วสดชื่น มีสุขภาพที่ดี เหมือนนอนเต็มอิ่มได้เช่นกัน การนอนหลับเต็มอิ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลายๆเรื่องอีกด้วย
ประโยชน์ของการนอนเต็มอิ่ม?
- ช่วยทำให้ EQ ของคนเราสูงขึ้น EQ เป็นความฉลาดทางอารมณ์ เพราะสมองจะได้มีการเตรียมพร้อมในการใช้ความคิดอย่างเต็มที่ โดยไม่มีอาการง่วงมาคั่นความคิด เข้าใจผู้อื่นและรู้จักใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์
- ช่วยลดความเครียดและทำให้เรามีความสุขเพิ่มมากขึ้นได้
- สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ สมองพร้อมทำงาน สามารถแล่นได้ตลอดเวลา
- มีความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
- สมองหลั่งสารดีๆ พอเราได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ตื่นเช้ามาสมองและร่างกายก็จะสดชื่น ทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างไม่ติดขัด
- ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เมื่อร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ก็จะทำให้สุขภาพเราดี แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆด้วย
- ช่วยป้องกันการแก่ก่อนวัยอันควร ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ไม่ดีพอ ร่างกายจะอ่อนแรง จนทำส่วนต่างๆ ทำงานผิดปกติ ทำให้เราสามารถแก่ก่อนวัยอันควรได้เนื่องจากร่างกายทรุดโทรม
- ความจำดี มีสมาธิ มี การตัดสินใจที่ดี
- ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน นอนดึก นอนน้อยจะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย จึงต้องกินเยอะ ทำให้อ้วนขึ้นได้
นอนกี่ชั่วโมงถึงจะดี?
ส่วนใหญ่แล้วผู้ใหญ่จะต้องนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง จะเป็นการนอนหลับที่ดีและเพียงพอ ซึ่งถ้าใครที่นอนครบแล้วแต่ตื่นมาก็ยังไม่รู้สึกสดชื่น ยังง่วงและไม่สดใส ทำงานได้ไม่มีคุณภาพ ก็สามารถมาใช้กฎ 90 นาทีได้ ซึ่งกฎการนอนหลับ 90 นาที คือ การนอนหลับที่เมื่อนอนครบ 90 นาที ก็จะนับเป็น 1 รอบในการนอนหลับ ซึ่งใน 1 รอบก็จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงหลับลึก 80 นาที และช่วงหลับตื้น(ช่วงที่หลับๆตื่นๆ)อีก10 นาที ซึ่งถ้าเราตื่นมาในช่วงที่หลับลึกก็จะทำให้รู้สึกง่วง งัวเงียมาก ในช่วงหลับลึกร่างกายจะมีการหลั่ง Growth Hormone ที่จะทำงานในการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ แต่ถ้าตื่นมาในช่วงหลับตื้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายและสมอง มีการทำงานที่ใกล้เคียงกับตอนตื่นมากที่สุด เมื่อตื่นมาก็จะรู้สึดสดชื่นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีนอนให้เต็มอิ่มต้องทำอย่างไร?
- ปิดไฟและปิดเครื่องมือสื่อสารทุกอย่างก่อนเข้านอน ก่อนเข้านอนควรทำการปิดไฟ ปิดคอมพิวเตอร์ ปิดทีวี เครื่องมือสื่อสารทุกอย่างที่มีแสงส่องออกมา เพราะเมื่อไหร่ที่อยู่ในความมืด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า Melatonin ออกมา ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เรารู้สึกง่วงนอน และยังช่วยให้การนอนของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น หลับได้ลึกมากขึ้น
- ไม่ดื่มน้ำก่อนนอนมากๆ เพราะจะทำให้ร่างกายต้องขับปัสสาวะในช่วงระหว่างเรากำลังนอนหลับ ขัดขวางการนอนหลับที่ดี ต่อให้เราหลับพักผ่อน แต่ร่างกายก็ยังทำงานอยู่ตามปกติ
- ไม่เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เพราะถึงจะนอนหลับแต่ก็จะเป็นการนอนหลับที่ไม่เต็มอิ่ม เนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอส่องมาที่ตาของเรา อีกทั้งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับก่อนนอน อาจจะทำให้สมองเก็บไปประมวลผลระหว่างหลับ แทนที่สมองจะได้พักผ่อนก็กลับกลายเป็นต้องทำงานอย่างหนัก
- จัดห้องนอนให้สะอาดน่านอน ไม่มีแสงรบกวน หมั่นทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ เอาไปตากแดดจัดๆ ป้องกันไรฝุ่น หาหมอนที่พอดีกับต้นคอเพื่อให้สามารถนอนหลับได้อย่างสบาย
- ดื่มน้ำอุ่น หรือนมอุ่นก่อนนอนจะช่วยในการนอนหลับ เพราะกรดอะมิโนทริปโตฟานทำให้ง่วงนอนได้
ใช้กฎการนอนให้ครบ 90 นาทีมาช่วย ถ้าไม่มีเวลาเพียงพอที่จะนอนมากกว่านั้น - เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ อย่างน้อย 4 ชม. ก่อนนอน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับกาเฟอีนซึ่งมีสารกระตุ้นที่ทำให้นอนไม่หลับ
- หยุดคิดฟุ้งซ่านก่อนเข้านอนซัก 30 นาทีเพื่อหยุดการทำงานของสมอง เตรียมพร้อมที่จะเข้านอนและซ่อมแซมร่างกายของเรา
ฟังเพลงเพราะ ๆ สูดอากาศที่บริสุทธ์ หรือดมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบก่อนนอน เพื่อให้ร่างกายมีความผ่อนคลายและเตรียมพร้อมที่จะเข้านอนและหลับได้อย่างเต็มที่ไร้สิ่งรบกวน - หลีกเลี่ยงการดูหรือฟังเรื่องตื่นเต้น น่ากลัว เพราะจะกระตุ้นให้เราไม่หลับ สมองจะมีการใช้งานอย่างหนักจนทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างสนิท
- แอบงีบในตอนกลางวันก็สามารถช่วยทำให้นอนเต็มอิ่มได้ โดยการแอบงีบในตอนกลางวันประมาณ 10-30 นาที จะช่วยให้เราตื่นมาพร้อมความสดชื่น แถมยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ หรือการพักสายตาก็จะสามารถช่วยทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้
- ออกกำลังกายที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักก่อนเข้านอน เพราะหัวใจจะเต้นแรง เหนื่อยหอบ ทำให้นอนหลับไม่สนิทแน่ๆ ยกตัวอย่างการออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ การยืดเส้นยืดสายเบาๆ เป็นต้น
- ควรอาบน้ำก่อนนอน เนื่องจากระหว่างวันเราได้ไปเจอมลภาวะและแสงแดด ทำให้มีเหงื่อ ขี้ไคลซึ่งสร้างความกวนใจให้แก่ร่างกายระหว่างนอนได้ ก็จะทำให้ไม่สามารถนอนเต็มอิ่ม จึงควรอาบน้ำชะล้างสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกไป เพื่อการนอนหลับสบาย
ข้อดีของการนอนเต็มอิ่ม?
การนอนเต็มอิ่มเมื่อตื่นมาสมองเราได้มีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ การนอนเต็มอิ่มจึงมีข้อดีอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา การทำงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ อีกทั้งยังช่วยให้เรามีสมาธิต่อการทำสิ่งต่างๆในระหว่างวัน สดชื่น กระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ และสุดท้ายข้อดีอีกอย่างคือช่วยทำให้ร่างกายเราไม่ทรุดโทรม เนื่องจากการนอนหลับก็เป็นการซ่อมแซมร่างกายและสมองอย่างหนึ่ง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้ รวมถึงช่วยทำให้เราไม่แก่ก่อนวันอันควรทางด้านร่างกายอีกด้วย
นอนเต็มอิ่มแต่ยังง่วง เกิดจากอะไร?
ร่างกายของเราจะมีการแบ่งรอบและแบ่งช่วงในการนอนหลับ โดยจะแบ่งเป็นหลับลึก 80 นาที และหลับตื้นที่เป็นการนอนหลับๆตื่นๆ อีก 10 นาที ซึ่งการนอนเต็มอิ่มแต่ยังง่วงก็เกิดจากการที่เราตื่นนอนมาใช้ช่วงของการนอนหลับลึก ที่ในช่วงนี้ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone มาช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายตื่นมาจึงรู้สึกอ่อนเพลียมากๆ ไม่สดชื่น แถมยังหัวสมองไม่แล่นทำงานได้ไม่ดี ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าถ้าหากต้องการตื่น 7.00 น. เวลาที่ควรนอน 22.00 น., 23.30 น., 01.00 น., 02.30 น. หากนับเป็นเวลาชั่วโมง คือควรนอนหลับเป็นเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง 6 ชั่วโมง 7 ชั่วโมงครึ่ง และ 9 ชั่วโมง นั่นเอง
อาการของการนอนไม่เต็มอิ่ม มีอะไรบ้าง?
- ตื่นมาแล้วยังหลงเหลือความง่วงอยู่ มีความงัวเงีย ไม่สบายตัว
- สมองไม่แล่น ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
- มีอารมณ์ฉุนเฉียวและมีการหงุดหงิดได้ง่ายถ้ามีการนอนไม่เต็มอิ่ม
- ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดี อาจจะมีการเบลอ หลงลืมบางสิ่งไปได้บ้าง
- ไม่มีความสดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าหรือตื่นตัวต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน
- ทำให้มีสมาธิสั้นหรือไม่มีสมาธิต่อการทำงานใดๆก็ตาม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 7 เรื่องจริงของการนอนเต็มอิ่ม ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะดี และวิธีการนอนให้เต็มอิ่มที่เราได้นำมาฝากทุกคนในวันนี้ การนอนเต็มอิ่มจะส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อตัวเราในหลายด้าน ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ดังนั้นหากไม่มีเวลาเพียงพอที่จะนอนให้ครบตามที่ร่างกายต้องการ ก็สามารถใช้กฎ 90 นาทีมาช่วยในเรื่องของการนอนให้เต็มอิ่มได้ แต่ก็ไม่ควรหักโหมงานจนร่างกายเกิดการสะสมนะ ไม่งั้นจะทำให้ร่างกายเราเสื่อมสภาพและแก่ก่อนวันอันควรได้เช่นกัน หวังว่าบทความนี้จะเป้นประโยชน์กับใครหลายๆคนที่กำลังมีอาการนอนไม่เต็มอิ่มนะคะ
อ้างอิง
https://www.sanook.com/women/42273/
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/55596/-heabod-hea-
https://bit.ly/3rVIxwn
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2007625
https://today.line.me/th/v2/article/YW5zVj
https://teen.mthai.com/variety/41059.html