ช่วงการ Work from home ที่ในสถานการณ์ล็อคดาวน์โควิด 19 ที่ผ่านมา ทุกๆคนคงไม่ค่อยได้ออกไปไหนมากนัก ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเพื่อเป็นการดูแลตัวเอง ทำให้นอกจากจะอยุ่แต่ภายในบ้านแล้วการทำกิจกรรมต่างๆก็คงทำแค่ภายในบ้านเช่นกัน อีกหนึ่งกิจกรรมที่คงเลี่ยงไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ…การนอนนั่นเอง ทำงานเหนื่อยๆเพลียๆก็นอน เครียดก็นอน หรือว่างมากๆแล้วไม่มีอะไรทำเพราะไม่สามารถออกไปเที่ยวหรือไปข้างนอกมากไม่ได้ก็คงทำได้แค่นอน แล้วคุณรู้ไหมว่านอนเยอะเกินไป มีความเสี่ยง และผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
จริงๆแล้วการนอนพักผ่อนให้เพียงพอนั้นเป็นเรื่องที่ดีและควรปฏิบัติให้เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง แต่รู้หรือไม่ว่า การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนน้อยเกินไปหรือการนอนที่มากเกินไปนั้นก็ส่งเสียต่อสุขภาพได้มากมายเช่นกัน แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักถึงการนอนพักผ่อนที่มากเกินไป (Hypersomnia) หรือที่เรียกว่า โรคขี้เซา ทั้งการพักผ่อนมากเกินไป นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งต้องการนอนในระหว่างวันวันละหลายๆครั้ง โดยจะส่งผลเสียต่อร่างกายเราได้มากมายเช่นกัน เช่น ดูเฉื่อยชา ทำให้อ้วน ทำลายสมองให้ความจำเสื่อมได้ ฯลฯ นอกจากนี้ผลเสียที่เกิดขึ้นยังมีอีกมากมาย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย…..
ก่อนจะเข้าไปถึงผลเสียจากการนอนที่มากเกินไปนั้นเรามารู้ก่อนว่าจริงๆแล้วปกติคนเรานั้นจะมีจำนวนชั่วโมงในการพักผ่อนที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัย เด็กทารกต้องมีการนอนตอนกลางวันโดยรวมแล้ว 12-16 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอนุบาลก็มีการนอนตอนกลางวันโดยรวมแล้ว 10-12 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนวัยรุ่นต้องมีการนอนหลับโดยประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ใหญ่ต้องมีการนอนหลับโดยประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นบุคคลที่มีการนอนมากเกินไปแล้วนะ นั่นคือ ขี้เซาตื่นนอนยาก นอนเท่าไหร่ก็ไม่พออ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา ในหนึ่งวันอยากนอนวันละหลายๆครั้ง ฉุนเฉียวหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หรือถ้าหนักมากๆคือ หลับในสถานการณ์ที่ไม่สมควรกะทันหัน เช่น ทานข้าว ประชุมงาน เมื่อเรารู้เรื่องพวกนี้แล้วเราจะมาเข้าถึงผลเสียของการนอนมากเกินไปกัน
- การนอนที่เยอะไปนั้นก็สามารถทำให้อ้วนได้เพราะร่างกายนั้นกินและนอนหลับอย่างเดียวไม่มีการได้ขยับร่างกายในทุกๆส่วน ถึงแม้จะทานน้อยหรือมีการควบคุมอาหารหรือมวลของร่างกาย น้ำหนักและการออกกำลังกายแล้วก็ตามก็ยังสามารถอ้วนได้ เนื่องจาก ระบบเผาผลาญไขมันนั้นลดลง ไขมันจึงสะสมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังนำพาไปสู่โรคเบาหวานและโรคอื่นๆที่มากมายได้อีกด้วย
- สมองเฉื่อยชา ดูไม่มีชีวิตชีวา สมองล้าเนื่องจากไม่มีการได้ขยับตัวมากเท่าที่ควร จึงไม่ค่อยได้ใช้สมองมากเท่าที่ควรทำให้สมองเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงาน คิดอะไรหรือทำอะไรก็ดูเชื่องช้าไปหมด มีประสิทธิภาพลดลง ความคิดไม่แล่นส่งผลกระทบในทั้งการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
- หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกว่าเดิม เนื่องจากนอนเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอทำให้มีการง่วงนอนตลอดเวลา เมื่อมีอะไรมากระทบจิตใจหรือกระทบเวลานอนก็จะยิ่งอารมณ์ไม่ดี มีผลเสียยาวไปถึงคนรอบข้าง ทั้งคนภายในครอบครัว ที่ทำงาน หรือเพื่อนๆก็ตาม
- มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้เนื่องจากการดำเนินชีวิตดำเนินเป็นไปอย่างไม่มีความสุข มีอาการอารมณ์แปรปรวนง่าย เพราะการอ่อนเพลียก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อมีการนอนที่มากเกินไปทำให้เวลาในการดำเนินชีวิตหรือทำให้การเข้าสังคมพบปะผู้คน ครอบครัวหรือเพื่อนลดน้อยลง พอห่างหายจากการติดต่อหรือเข้าสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ก็จะหลั่งสารที่ให้ความสุขออกมาลดน้อยลง นั่นก็คือ สารเคมี ซีโรโทนิน ที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว การนอนหลับ กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยและอีกมากมาย ส่วน เอนดอร์ฟิน เป็นสารบรรเทาอาการปวด ตอบสนองต่อความเจ็บปวดและความเครียด ทำให้รู้สึกมีความสุข คลายเครียด เมื่อสารเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้ลดน้อยลง ทำให้อาจจะเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้นั่นเอง
- อาจเกิดการหดหู่ เศร้าใจ ถึงจะไม่ได้อารมณ์ฉุนเฉียวก็อาจจะทำให้ดูเศร้าได้ เนื่องจากไม่ได้ตื่นมาหาความสุขให้ตัวเอง หรือหากิจกรรมทำในระหว่างวัน เพราะเวลาในแต่ละวันส่วนใหญ่นั้นหมดไปกับการนอน หรือจะเป็นการไม่เอาการเอางาน เพราะอยากนอนวันละหลายๆชั่วโมง โฟกัสงานได้แปปเดียวก็จะเกิดอาการง่วง เมื่อฝืนต่อไม่ไหวเลยตัดสินใจทิ้งงานที่ทำไว้เพื่อที่จะได้ใช้เวลาหลับพักผ่อนตามความต้องการ พองานไม่สำเร็จตามที่วางไว้ก็อาจจะเกิดอาการเศร้าใจ หรือถ้าร้ายแรงก็จะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
- การทำงานของระบบกระดูกและข้อมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง เนื่องจากเมื่อนอนมากไปจึงไม่ค่อยได้ขยับร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ พอไม่ได้มีการเคลื่อนไหวนานๆเข้า จะส่งผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อนั้นไม่แข็งแรง มีความอ่อนแรง มีปัญหาในเรื่องข้อต่างๆได้มากขึ้น จะเกิดการเคลื่อนไหวได้ยาก หรือร้ายที่สุดเมื่อมีการไม่ได้ขยับนานๆสะสมมากขึ้นอาจจะมีโอกาสเดินไม่ได้ก็เป็นได้
- ในเพศหญิงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ยากขึ้น เนื่องจากการหลั่งฮอร์โมนหรือรอบเดือนมีความผิดปกติ ฮอร์โมนและรอบเดือนจะปกติได้ต้องเกิดจากการพักผ่อนที่พอดี แต่ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างชัดเจนเนื่องจากมีปัจจัยที่ยากเกินต่อการควบคุมมากเกินไป
- มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้สูง และเกิดได้ง่ายมากขึ้น เพราะการนอนหลับที่มากเกินไป ร่างกายมีการปรับตัวไม่ทันและปรับตัวได้ยาก ระบบร่างกายเกิดความแปรปรวน ส่งผลไปถึงระบบเผาผลาญไขมันมีประสิทธิภาพลดลง ไขมันสะสมมากขึ้น จึงเป็นต้นตอของ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ปวดหลัง ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้
- ผลเสียสุดท้ายที่ร้ายแรงที่สุด ร้ายแรงกว่าผลเสียต่างๆที่ผ่านมานั่นก็คือ การนอนที่มากเกินไปอาจจะเกิดการเสียชีวิตได้เร็ว เพราะคนที่นอนมากเกินไปจะมีภาวะหลับง่าย ร่างกายและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการขยับมากเท่าที่ควร ไม่มีการออกกกำลังกาย ไม่ได้มีการเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกายมากพอ พอนานๆเข้าอาจจะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้หรือเรียกว่าไหลตาย เพราะเนื้อสมองตายเนื่องจากไม่ได้มีการใช้งานหรือไม่มีสัญญาณของสมอง
เป็นยังไงกันบ้างคะ รู้สึกกันอย่างไรบ้างเอ่ย รู้ถึงผลเสียของการนอนเยอะเกินไปกันแล้วใช่ไหม เมื่อรู้แล้วเรานั้นก็สามารถมีวิธีปรับการนอนของตัวเองให้ดีขึ้นได้ทั้ง การตั้งเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำให้ร่างกายซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้านอนให้ตรงเวลาเมื่อตื่นแล้วลุกทันทีไม่นอนต่อ หากิจกรรมก่อนนอนที่สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เพื่อให้ได้ปรับตัวก่อนนอน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ร่างกาย อาบน้ำก่อนนอนเพื่อความสบายตัวก่อนนอนจะได้หลับได้ง่าย พยายามหลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวันเพราะยิ่งนอนกลางวันมากเท่าใด ตอนกลางคืนจะยิ่งไม่นอนมากเท่านั้นและเมื่อส่งผลในระยะยาวจะมีการนอนที่มากเกินไปได้เช่นกัน หรือจะเป็นการไม่ควรใช้ยานอนหลับ อีกทั้งอย่ากลัวจนนอนไม่หลับเพราะ จะยิ่งทำให้นอนนานมากกว่าเดิม เกิดความเครียดความกังวลได้ เมื่อรู้วิธีแก้ปัญหาการนอนมากเกินไปแล้ว ก็สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ หรือใครที่เมื่อปฏิบัติตามแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขในเรื่องการนอนมากเกินไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่หรือวัยชราก็ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาขอคำแนะนำเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง จะได้แก้ไขได้ทัน เพราะร่างกายเรานั้นต้องการการนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี สมองปลอดโปร่ง ส่งผลต่อไปถึงการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันจะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
ที่มา : rajavithi.go.th,pobpad.com,dmh.go.th,mdmatethailand.com